3 ข้อต้องรู้!!! ก่อนจดทะเบียนสมรส


loading...
การจัดการสินทรัพย์เมื่อสมรสจดทะเบียน จะมีข้อกังวลใจในการจัดการสินทรัพย์ร่วมกัน และต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “สินส่วนตัว” และ “สินสมรส” เพื่อให้สามารถจัดการสินทรัพย์ของชีวิตคู่ได้อย่างลงตัว ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “สินส่วนตัว” กับ “สินสมรส” เพื่อใช้แบ่งสินทรัพย์กันก่อน มี 2 ประเภท ดังนี้

 1. สินส่วนตัว คือ สินทรัพย์ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส / สินทรัพย์ที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัว หรือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ / สินทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรสกันโดยการรับมรดก หรือการให้โดยเสน่หา / สินทรัพย์ที่เป็นของหมั้น / การนำสินทรัพย์ที่เป็นสินส่วนตัวไปแปลงเป็นรูปแบบอื่นๆ

 2. สินสมรส คือ สินทรัพย์ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส / สินทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรสกันโดยทางพินัยกรรม หรือการให้ ซึ่งระบุว่าให้เป็นสินสมรส / สินทรัพย์ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล

เมื่อเข้าใจถึงความหมายว่า กรณีใดบ้างจะถือเป็นสินส่วนตัว หรือ สินสมรสกันแล้ว จะมีแนวทางจัดการสินสมรส สินส่วนตัวอย่างไร เมื่อจะจดทะเบียนสมรส

 1. ก่อนสมรสเขียนให้ชัดว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินอะไรบ้าง

 แนวทางนี้สำหรับคู่สมรสพิจารณาก่อนการจดทะเบียนสมรส ว่าจะทำสัญญาก่อนสมรสหรือไม่ หากต้องการให้ลงรายละเอียดชัดเจน ก็ทำสัญญาก่อนสมรสเพื่อระบุอะไรบ้างเป็นสินส่วนตัว เนื่องจากหากไม่ระบุไว้ในสัญญา การจัดการทรัพย์สินจะถือเป็นสิทธิในการจัดการสินทรัพย์ระหว่างสมรส

 2. จะให้มรดก ระบุให้ชัดว่าเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส

 แนวทางนี้ สำหรับผู้ยกให้สินทรัพย์แก่คู่สมรส ไม่ว่าจะยกสินทรัพย์ให้ หรือให้เป็นมรดก จะเป็นสินส่วนตัว หากไม่ระบุเป็นอย่างอื่น ยกตัวอย่างเช่น พ่อต้องการโอนสินทรัพย์ให้ลูกชายที่จดทะเบียนสมรสแล้วเพียงคนเดียว อาจจะกังวลว่าจะโอนไปแล้วกลายเป็นสินสมรส เท่ากับ โอนไปแบ่งให้ลูกสะใภ้ด้วย ก็เป็นความเข้าใจที่ผิดไป แต่เพื่อให้ชัดเจนก็ระบุไปให้ชัดๆ ว่าต้องการให้เป็นสินส่วนตัว หรือสินสมรส

 3. หากต้องสิ้นสุดการสมรส ยังจัดการสินทรัพย์ได้ด้วยสัญญาหย่า

แนวทางนี้ สำหรับคู่สมรสที่จำเป็นต้องสิ้นสุดการสมรสกัน และประสงค์จะแบ่งสินทรัพย์กัน ยกตัวอย่างเช่น ใครจะดูแลบุตร ใครจะได้สินทรัพย์หรือรับผิดชอบหนี้สินกันอย่างไร


นอกจากเรื่องสินสมรส หรือสินส่วนตัว ในระหว่างที่สมรสจดทะเบียนแล้ว ยังมีสิทธิที่อาจจะได้เพิ่มเติมจากการจดทะเบียนสมรส เช่น สิทธิในการยื่นภาษีแบบสามี-ภริยา สิทธิจากสวัสดิการที่นายจ้างให้แก่คู่สมรส บุตร ดังนั้น การจัดการสินทรัพย์เมื่อจดทะเบียนสมรส ก็ควรบริหารจัดการโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ และมูลค่าสินทรัพย์ที่ได้รับให้มีความพอดีอีกด้วย -


ที่มา:http://www.news-lifestyle.com/contents/152832/

ภาพจาก:happywedding

Powered by Blogger.