เปิดรายละเอียดสิทธิ ประกันสุขภาพ ภาครัฐ 3 กองทุน แตกต่างอย่างไร ….. เพื่อสิทธิประโยชน์ต้องอ่านดู

เปิดรายละเอียดสิทธิ ประกันสุขภาพ ภาครัฐ 3 กองทุน แตกต่างอย่างไร ….. เพื่อสิทธิประโยชน์ต้องอ่านดู

loading...
แม้จะไม่ตรงตามข้อเรียกร้องของผู้ประกันตน ทั้งหมด แต่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เล็งเห็นถึงความจำเป็นและขยับในเรื่องของค่าบริการทันตกรรม อุดฟัน ถอนฟัน และขูดหินปูน จากเดิมปี 600 บาท เพิ่มเป็นปีละ 900 บาท และนำร่องไม่สำรองจ่ายใน 30 หน่วยบริการ ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคมนี้ ก่อนจะขยายทั่วประเทศภายในปี 2559
งาน นี้แม้จะไม่ได้ตรงตามข้อเรียกร้องทั้งหมด แต่ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่ สปส.ขยับ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในระบบสุขภาพ 3 กองทุนภาครัฐ เมื่อเทียบกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) และสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
ประเด็น ความเท่าเทียมในระบบสุขภาพภาครัฐของ 3 กองทุน ทั้งบัตรทอง ประกันสังคม และสิทธิข้าราชการนั้น ไม่ได้อยู่แค่กรณีทันตกรรมเท่านั้น แต่ยังมีกรณีอื่นๆ ที่ถูกจับตามองมาโดยตลอด นั่นเพราะ สิทธิประกันสังคม มีการจ่ายเงินสมทบเข้าระบบร่วมกับนายจ้างและภาครัฐ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อาทิ สิทธิกรณีว่างงาน เลิกจ้าง เกษียณอายุ รวมทั้งรักษาพยาบาล แต่ในประเด็นการรักษาพยาบาล ถูกพูดเสมอว่า ควรเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ไม่ด้อยไปกว่าสิทธิสุขภาพอื่นๆ
เรื่อง นี้ เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) นำโดย มนัส โกศล ประธาน คปค. และ บรรจง บุญรัตน์ กรรมการ คปค.เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการแพทย์ สปส. ขอให้มีการพิจารณาเรื่องส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ผู้ประกันตน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 63 (2) พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับ 4 พ.ศ.2558 แต่ไม่มีการออกระเบียบมารองรับ มนัสบอกว่า การตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันโรค ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญ และเป็นไปตามมาตรา 63 (2) ของ พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ดังนั้น เมื่อมีกฎหมายก็ควรให้สิทธิผู้ประกันตนได้ตรวจสุขภาพด้วย
ขณะ ที่กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพก็ออกมาเรียกร้องตลอดในแง่ของงบบัตรทองที่ เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับสิทธิข้าราชการก็ยังถือว่าน้อย เนื่องจากข้าราชการมีจำนวนน้อยกว่า ขณะที่งบกองทุนรักษาพยาบาลของข้าราชการตกปีละประมาณ 6 หมื่นล้านบาท จนช่วงหนึ่งมีการจำกัดงบประมาณข้าราชการ

จาก ข้อเรียกร้องของสิทธิประกันสังคม และสิทธิบัตรทอง มาดูว่า แท้จริงแล้ว 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐมีข้อแตกต่างอย่างไร โดยเฉพาะสิทธิในการตรวจสุขภาพ เพื่อปัองกันโรค สามารถใช้ได้ทุกกองทุนหรือไม่
มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย (ภวส.) ได้ทำการศึกษาความแตกต่างของ 3 ระบบประกันสุขภาพไทย
1.สิทธิ ข้าราชการ มีคนอยู่ในระบบ 4.97 ล้านคน ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเฉลี่ยคนละ 12,397.66 คน งบประมาณเฉลี่ยปีละ 60,000 ล้านบาท งบจากภาษี โดยรัฐบาลอุดหนุน 100% หากจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลนั้น จะจ่ายกรณีเกินสิทธิกำหนด โดยหน่วยบริการ (โรงพยาบาล) ที่เข้ารับการบริการได้นั้น จะเป็นโรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่เข้าร่วม ทั้งนี้ มีกรมบัญชีกลางเป็นหน่วยงานดูแล โดยสิทธิข้าราชการจะสิ้นสุดต่อเมื่อไม่ได้เป็นข้าราชการแล้ว
2.สิทธิ ประกันสังคม ครอบคลุมผู้ประกันตนประมาณ 10.33 ล้านคน งบประมาณเฉลี่ยคนละ 2,857.37 บาท งบภาพรวมทั้งหมดปีละ 29,508.48 ล้านบาท ถือเป็นสวัสดิการทางสังคม รัฐบาลอุดหนุน 33% ส่วนที่เหลือเป็นเงินสมทบผู้ประกันตน และนายจ้าง โดยผู้ประกันตนต้องสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน 5 เปอร์เซ็นต์จากค่าจ้างรายเดือน และต้องจ่ายสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน ใน 15 เดือนจึงจะเกิดสิทธิได้ และจะสิ้นสุดสิทธิประกันสังคมก็ต่อเมื่อขาดส่งเงินสมทบมากกว่า 3 เดือน โดยเข้ารับบริการได้ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่เป็นคู่สัญญา มี สปส.เป็นหน่วยงานดูแล


3.สิทธิบัตรทอง ครอบคลุมประชาชนทั่วไป 48 ล้านคน งบรายหัวเฉลี่ยในการรักษาพยาบาลโดยไม่รวมค่าอื่นๆ ประมาณ 2,217.48 บาทต่อคน
งบ ภาพรวมที่กระจายไปยังโรงพยาบาลในสิทธิบัตรทองเฉลี่ย 107,814.12 ล้านบาท รัฐอุดหนุนงบ 100% เดิมกองทุนบัตรทองนั้น จะเป็นการร่วมจ่าย 30 บาท ตั้งแต่แรกเริ่มจัดตั้งกองทุน แต่ต่อมามีการปรับเปลี่ยนเป็นบัตรทองรักษาฟรี แต่กระนั้นก็ยังมีการจ่าย 30 บาท ในบางพื้นที่ ส่วนใหญ่จะเป็นการบริจาค หรือการจ่ายด้วยความสมัครใจ โดยสิทธิบัตรทองจะได้สิทธิตั้งแต่แรกเกิด แต่สิ้นสุดสิทธิก็ต่อเมื่อได้สิทธิสุขภาพอื่นๆ ทดแทน ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม หรือข้าราชการก็ตาม โดยเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่เป็นคู่สัญญา มีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดูแล
อย่าง ไรก็ตาม หากพูดถึงในแง่สิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ ที่แตกต่างกันมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง 1.กรณีผู้ป่วยต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนั้น สำหรับค่าห้องพิเศษ สิทธิข้าราชการจ่ายให้ไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน สิทธิประกันสังคมไม่เกิน 700 บาทต่อวัน และสิทธิบัตรทอง ไม่คุ้มครอง
2.การ บริการรักษาตัวแบบพักฟื้น และบริการหลังผู้ป่วยกลับบ้าน สิทธิข้าราชการไม่คุ้มครอง สิทธิประกันสังคมไม่คุ้มครอง แต่สิทธิบัตรทอง คุ้มครอง
3.กรณีการ ฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านการแพทย์ หลังสิ้นสุดการรักษา (นอกโรงพยาบาล) สิทธิข้าราชการและประกันสังคมไม่คุ้มครอง จะคุ้มครองเฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่สิทธิบัตรทองคุ้มครองทั้งหมด
4.การ ช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการและผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหาย จากการรับบริการสาธารณสุข สิทธิข้าราชการไม่คุ้มครอง สิทธิประกันสังคมคุ้มครองเฉพาะผู้รับบริการ และบัตรทองคุ้มครองทั้งหมด
5.การ ส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพสูงกว่าทางอากาศยาน สิทธิข้าราชการและประกันสังคมไม่คุ้มครอง มีเพียงสิทธิบัตรทองที่คุ้มครอง
6.ค่าพาหนะรับส่งต่อระหว่างหน่วยบริการทางเรือ สิทธิข้าราชการไม่คุ้มครอง แต่สิทธิประกันสังคมและบัตรทองคุ้มครอง
7.การ ปลูกถ่ายไขกระดูกสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง กรณีป่วยเป็นมะเร็งก่อน สิทธิข้าราชการคุ้มครอง สิทธิประกันสังคมไม่คุ้มครอง และสิทธิบัตรทองคุ้มครอง
8.กรณี ทันตกรรม รากฟันเทียม สิทธิข้าราชการไม่คุ้มครอง สิทธิประกันสังคมคุ้มครอง สิทธิบัตรทองไม่คุ้มครอง ส่วนกรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนนั้น สิทธิข้าราชการเข้ารับบริการได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ไม่มีวงเงิน สิทธิประกันสังคม จ่ายให้ปีละ 900 บาท เริ่มวันที่ 12 สิงหาคม 2559 ส่วนสิทธิบัตรทองเข้ารับบริการได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ไม่มีวงเงิน
นี่ คือตัวอย่างของสิทธิที่แตกต่างกันในแต่ละกองทุน อย่างไรก็ตาม บริบทของแต่ละกองทุนก็มีความแตกต่าง แต่เชื่อว่าทุกกองทุนย่อมต้องการให้สิทธิสุขภาพที่ดีที่สุดเพื่อประชาชน
ดังนั้น อะไรที่ยังแตกต่าง เหลื่อมล้ำมาก ก็ต้องให้โอกาสในการพัฒนา!

ที่มา:http://www.naarn.com/7241/
Powered by Blogger.