จากกรณีที่เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ตร.มักกะสัน -นราธิวาส บุกจับ น.ส.นริศราวัลถ์ หรือเมย์ แก้วนพรัตน์ อายุ 25 ปี “หลานสาวพลทหารฯ ถูกซ้อมตาย” ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยเอกสาร-คอมพิวเตอร์ หลังร้องความเป็นธรรมให้น้าชายที่ถูกครูฝึกทหารทำโทษจนเสียชีวิตนั้น
“ความพยายามของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทย ในการคุกคามและตอบโต้ญาติของเหยื่อทารุณกรรมที่ออกมาเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมานั้น ไม่ต่างกับการสนับสนุนการทารุณ”แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอทช์ประจำภูมิภาคเอเชีย ระบุ และว่า “รัฐบาลควรมีคำสั่งให้ตำรวจถอนข้อกล่าวหาน.ส.นริศราวัลถ์ โดยทันทีและนำตัวผู้ที่อยู่เบื้องหลังการเสียชีวิตของลุงของเธอมาลงโทษ”
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า หลังการสอบสวนเป็นการภายในโดยกองทัพภาคที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย พบว่าทหารนายหนึ่ง กับพวกรวม 10 คน ก่อเหตุทารุณกรรมพลทหารวิเชียร เผือกสม น้าชายของน.ส.นริศราวัลถ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2554 รายงานการสอบสวนระบุว่า นายทหารรายดังกล่าว ซึ่งเป็นผู้ที่กล่าวหาว่าพลทหารวิเชียร หลบหนีออกจากค่ายฝึก กับพวกรวม 10 คน ก่อเหตุแก้ผ้าพลทหารวิเชียรเหลือเพียงชุดชั้นใน ลากพลทหารวิเชียรไปบนพื้นคอนกรีต ก่อนจะเตะและทำร้ายร่างกายเป็นเวลานานหลายชั่วโมง มีการนำเกลือมาโรยใส่แผล พันตัวด้วยผ้า มัดมือ บังคับให้นั่งบนน้ำแข็ง ตีด้วยไม้เรียวจากไม้ไผ่ เตะ กระทืบไปที่หน้าอกและศีรษะ ก่อนที่พลทหารวิเชียร จะเสียชีวิตในอีก 4 วันต่อมา ต่อมากลุ่มผู้ก่อเหตุได้รับโทษทางวินัยให้จำคุกเป็นเวลา 30 วันหรือน้อยกว่านั้น แต่ยังไม่ได้ถูกต้ังข้อหาฆาตรกรรมหรือข้อหารุนแรงอื่นๆ
ส่วนคดีแพ่งมารดาของพลทหารวิเชียร ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนทางละเมิดต่อหน่วยงานต้นสังกัด ปรากฏว่าสามารถเจรจาไกล่เกลี่ยกันได้ โดยศาลแพ่งสั่งให้กองทัพบกเป็นผู้ชดเชยเยียวยาค่าเสียหายแก่มารดาของพลทหารวิเชียร เป็นเงิน 7,049,213 บาท ส่วนในคดีอาญาเมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พบว่าผู้ก่อเหตุมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และประมวลกฎหมายอาญาทหาร พ.ศ.2473 มาตรา 30 วงเล็บ 4 ซึ่งหลังจากนี้จะมีการส่งสำนวนคดีไปยังพนักงานอัยการต่อไป
แถลงการณ์ระบุว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้คำมั่นว่าจะทำให้การทารุณกรรมเป็นคดีอาญาภายใต้กฎหมายของไทย และจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ไทยได้ให้ไว้ต่ออนุสัญญาสหประชาชาติต่อต้านการทรมานฯ โดยภายใต้อนุสัญญาดังกล่าวรัฐบาลไทยได้ให้คำมั่นว่าจะสืบสวนและลงโทษการกระทำที่เป็นการทรมาน หรือการกระทำรุนแรงอื่นๆที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยยังไม่ประสบความสำเร็จในการลงโทษเจ้าหน้าที่ความมั่นคงคนใดจากการทำความผิดลักษณะดังกล่าว และยังดำเนินการตอบโต้ผู้ที่รายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้วยการแจ้งความดำเนินคดีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการกล่าวหาอันเป็นเท็จเพื่อทำลายชื่อเสียงของเจ้าหน้าที่
โดย นายอดัมส์ ระบุด้วยว่า “มันมักจะเป็นความเสี่ยงที่จะพูดแทนเหยื่อของการทารุณกรรมโดยเจ้าหน้าที่ทหารในประเทศไทย” และว่า “เวลานี้รัฐบาลกำลังใช้อำนาจทางกฎหมายที่มีอยู่อย่างมากมายกับผู้ที่ร้องขอความยุติธรรม”
ต้นฉบับแถลงการณ์จากเว็บไซต์ฮิวเมนไรท์วอทช์
source : http://www.matichon.co.th/news/225757
loading...
ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา ฮิวแมนไรท์วอทช์ องค์กรสนับสนุนสิทธิมนุษย์ชน ได้เผยแพร่แถลงการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยถอนการดำเนินคดีน.ส.นริศราวัลถ์ ผู้ซึ่งหากพบว่ามีความผิดอาจต้องรับโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี และปรับ 100,000 บาท ในข้อหาในข้อหา หมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร และนำเข้า สู่ระบบคอมพิวเตอร์“ความพยายามของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทย ในการคุกคามและตอบโต้ญาติของเหยื่อทารุณกรรมที่ออกมาเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมานั้น ไม่ต่างกับการสนับสนุนการทารุณ”แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอทช์ประจำภูมิภาคเอเชีย ระบุ และว่า “รัฐบาลควรมีคำสั่งให้ตำรวจถอนข้อกล่าวหาน.ส.นริศราวัลถ์ โดยทันทีและนำตัวผู้ที่อยู่เบื้องหลังการเสียชีวิตของลุงของเธอมาลงโทษ”
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า หลังการสอบสวนเป็นการภายในโดยกองทัพภาคที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย พบว่าทหารนายหนึ่ง กับพวกรวม 10 คน ก่อเหตุทารุณกรรมพลทหารวิเชียร เผือกสม น้าชายของน.ส.นริศราวัลถ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2554 รายงานการสอบสวนระบุว่า นายทหารรายดังกล่าว ซึ่งเป็นผู้ที่กล่าวหาว่าพลทหารวิเชียร หลบหนีออกจากค่ายฝึก กับพวกรวม 10 คน ก่อเหตุแก้ผ้าพลทหารวิเชียรเหลือเพียงชุดชั้นใน ลากพลทหารวิเชียรไปบนพื้นคอนกรีต ก่อนจะเตะและทำร้ายร่างกายเป็นเวลานานหลายชั่วโมง มีการนำเกลือมาโรยใส่แผล พันตัวด้วยผ้า มัดมือ บังคับให้นั่งบนน้ำแข็ง ตีด้วยไม้เรียวจากไม้ไผ่ เตะ กระทืบไปที่หน้าอกและศีรษะ ก่อนที่พลทหารวิเชียร จะเสียชีวิตในอีก 4 วันต่อมา ต่อมากลุ่มผู้ก่อเหตุได้รับโทษทางวินัยให้จำคุกเป็นเวลา 30 วันหรือน้อยกว่านั้น แต่ยังไม่ได้ถูกต้ังข้อหาฆาตรกรรมหรือข้อหารุนแรงอื่นๆ
ส่วนคดีแพ่งมารดาของพลทหารวิเชียร ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนทางละเมิดต่อหน่วยงานต้นสังกัด ปรากฏว่าสามารถเจรจาไกล่เกลี่ยกันได้ โดยศาลแพ่งสั่งให้กองทัพบกเป็นผู้ชดเชยเยียวยาค่าเสียหายแก่มารดาของพลทหารวิเชียร เป็นเงิน 7,049,213 บาท ส่วนในคดีอาญาเมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พบว่าผู้ก่อเหตุมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และประมวลกฎหมายอาญาทหาร พ.ศ.2473 มาตรา 30 วงเล็บ 4 ซึ่งหลังจากนี้จะมีการส่งสำนวนคดีไปยังพนักงานอัยการต่อไป
แถลงการณ์ระบุว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้คำมั่นว่าจะทำให้การทารุณกรรมเป็นคดีอาญาภายใต้กฎหมายของไทย และจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ไทยได้ให้ไว้ต่ออนุสัญญาสหประชาชาติต่อต้านการทรมานฯ โดยภายใต้อนุสัญญาดังกล่าวรัฐบาลไทยได้ให้คำมั่นว่าจะสืบสวนและลงโทษการกระทำที่เป็นการทรมาน หรือการกระทำรุนแรงอื่นๆที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยยังไม่ประสบความสำเร็จในการลงโทษเจ้าหน้าที่ความมั่นคงคนใดจากการทำความผิดลักษณะดังกล่าว และยังดำเนินการตอบโต้ผู้ที่รายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้วยการแจ้งความดำเนินคดีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการกล่าวหาอันเป็นเท็จเพื่อทำลายชื่อเสียงของเจ้าหน้าที่
โดย นายอดัมส์ ระบุด้วยว่า “มันมักจะเป็นความเสี่ยงที่จะพูดแทนเหยื่อของการทารุณกรรมโดยเจ้าหน้าที่ทหารในประเทศไทย” และว่า “เวลานี้รัฐบาลกำลังใช้อำนาจทางกฎหมายที่มีอยู่อย่างมากมายกับผู้ที่ร้องขอความยุติธรรม”
ต้นฉบับแถลงการณ์จากเว็บไซต์ฮิวเมนไรท์วอทช์
source : http://www.matichon.co.th/news/225757