เรื่องของการปรุงอาหารคุณพ่อบ้านแม่บ้าน เวลาไปซื้อของไม่ว่าจะเนื้อสัตว์หรือ ผักต่างๆ ก่อนปรุงอาหารเราจะล้างทำความสะอาดกันก่อนทุกครั้งเพื่อความสะอาด และปลอดภัยจากสารเคมี แต่วันนี้เรามีความรู้ใหม่มาแชร์กันคืดห้ามล้างเนื้อไก่ก่อนนำมาปรุงอาหาร เพราะจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคCampylobacterได้ ลองอ่านดูจากเนื้อหาที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ได้นะค่ะ
ซึ่งจากโพสต์นี้ทำให้เพจดังอย่าง ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว ได้ออกมายืนยันแล้วว่า เป็นเรื่องจริงพร้อมอธิบายไว้ว่าดังนี้
มีคนแชร์อันนี้กัน แล้วก็มีคนถามกันเยอะว่าจริงเหรอ ที่ว่าเวลาจะทำอาหารเอาไก่มา อย่าล้างไก่ เพราะจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคCampylobacterได้ หลายคนเชื่อ หลายคนไม่เชื่อบอกว่าไร้สาระ
สรุปตรงนี้ก่อนว่าจริง ส่วนจะทำตามไหมลองอ่านดูก่อน
1. ถ้าไปดูพวกฝรั่งทำอาหารแบบถูกสุขลักษณะ เนื้อสัตว์ทั้งหลายของเขา เวลาทำอาหารมักจะแนะนำให้เอาออกจากช่องแช่แล้วทำอาหารเลย หั่นกันแบบแข็งๆ
2. ในทางเดินอาหารของไก่ มีแบคทีเรียเช่น Salmonella และ Campylobacter ซึ่งก่อโรคท้องเสียได้
3. เวลาซื้อเนื้อมา ก็มีโอกาสที่เชื้อจะติดมากับเนื้อได้ จากเชื้อที่มีในสัตว์ตัวนั้น
4. เขาไม่ล้าง เพราะว่าขั้นตอนในการที่เนื้อจะมาถึงผู้บริโภค ไม่ควรไปปนเปื้อนเชื้อจากสิ่งแวดล้อม … ถ้าจะมีเชื้อต้องเป็นเชื้อจากเนื้อสัตว์เท่านั้น
5. ถ้าเชื้อเกิดปนเปื้อนจากมือคนขาย คนขายเอาไปทำตกพื้น แผงที่วางไม่สะอาด การล้างก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก เพราะว่าเชื้อมันอยู่ในเนื้อด้วย … ซึ่งพอลงหม้อเดือดๆก็ตายอยู่ดี
6. ถ้าเราล้าง เพราะว่ามันมีของเปื้อน … เช่น เห็นเศษหญ้า เห็นแมลงวันตายติดอยู่ เห็นขาแมลงสาบ … ก็ไม่ควรกินแต่แรกอยู่แล้ว … (และการล้างก็ไม่ได้เอาเชื้อออกเท่าใดนักอยู่ดี)
7. การล้างเนื้อสัตว์ … กระเด็นแน่นอน … ใครที่ล้างผักแช่ผักในด่างทับทิมจะรู้เลยว่าหยดน้ำมันไปได้ไกล … แต่ทีนี้พอล้างไก่ล้างเนื้อ เรามองไม่เห็นสีเราเลยเข้าใจว่าไม่มีอะไร
8. ถ้าน้ำกระเด็นไปแล้วเราไม่ได้เช็ด พอเราเช็ดอ่างเสร็จแล้วดันเอามือไปแตะแล้วไปจับแก้วจับช้อน ก็ติดเชื้อต่อได้
9. เชื้อ Campylobacter ในไทย อาจจะมีปัญหาไม่มากในผู้ใหญ่เท่าฝรั่ง เพราะว่าเรากินอาหารสุกเยอะหน่อย แต่ถ้าใครกินผักสดและไปล้างผักตรงอ่างนั้น ก็เสี่ยงได้เหมือนกัน
10. Cross contamination คือการแพร่เชื้อที่เจอได้บ่อยโคตรๆในไทย เหตุการณ์ที่ผ่านๆมาหลายครั้ง คนกินอาหารสุกดี แต่ว่าดันท้องเสียหลายๆคนพร้อมกัน ก็เพราะ Cross contamination แบบนี้แหละ
แต่ถ้าใครจะล้างจริงๆ เพราะกลัวความสกปรก ก็อาจจะพอล้างได้ เพียงแต่ว่า
– หากมื้อนั้นมีอาหารที่กินสด ผักสด ข้าวเหนียว(ใช้มือจับ) ก็ต้องทำของสดก่อน แล้วทำเนื้อสัตว์ทีหลัง
– หลังทำอาหารทุกครั้ง พื้นที่อ่างต้องแห้ง ฟองน้ำต้องแห้ง ผ้าเช็ดมือต้องแห้ง
– ต้องล้างมือ 7 ขั้นตอนอย่างถูกวิธี และหากใช้ผ้าเช็ดมือต้องแห้งหรือเปลี่ยนบ่อยๆ
– ที่วางจานที่ล้างเสร็จแล้ว ควรอยู่ห่างจากอ่างที่ล้างเนื้อสัตว์ … ห่างแค่ไหนไม่รู้ แต่กระเด็นได้เป็นเมตร
– อาหารเด็กเล็ก ขวดนมเด็กทารก ต้องไม่มีการเตรียมหรือชงหรือล้างใกล้ๆอ่างที่ล้างเนื้อสัตว์ …
ทุกวันนี้การปนเปื้อนของเชื้อโรคในอาหารนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ก่อนรับประทาน หรือ เลื้อกซื้ออาหารเพื่อนำมาปรุงควรเลือกซื้อจากแหล่งที่ไว้ใจได้ และสดสะอาดอยู่เสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีของเราและคนที่คุณรัก Kaijeaw.com หวังว่าบทความที่นำมาฝากในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อยนะค่ะ
ที่มา:http://kaijeaw.com/
loading...
คำเตือน: คนส่วนใหญ่ชอบล้างเนื้อไก่ที่ซื้อมาจากร้านก่อนปรุงอาหารเพราะคิดว่าทำให้สะอาดขึ้น แต่ที่ถูกต้องคือ*ห้าม*ล้างไก่สดเพราะน้ำล้างที่กระเด็นไปรอบๆข้างอ่าง(เสื้อผ้า, จานชาม, ผัก/ผลไม้สดที่อยู่ใกล้ๆและผ้าเช็ดมือ) จะมีแบคทีเรีย campylobacter และ Salmonella อยู่ซึ่งเป็นอันตรายมากโดยเฉพาะกับเด็กเล็กและคนแก่ การหุงต้มไก่ด้วยความร้อนก็ทำลายเชื้อโรคได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปล้างก่อนให้เสี่ยงกับการเกิดอาหารเป็นพิษกับตนเองและผู้อื่น คนที่ไม่ทำอาหารเองก็ช่วยบอกแม่ครัวด้วยนะคะ อ้างอิงจาก : food.gov.ukซึ่งจากโพสต์นี้ทำให้เพจดังอย่าง ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว ได้ออกมายืนยันแล้วว่า เป็นเรื่องจริงพร้อมอธิบายไว้ว่าดังนี้
มีคนแชร์อันนี้กัน แล้วก็มีคนถามกันเยอะว่าจริงเหรอ ที่ว่าเวลาจะทำอาหารเอาไก่มา อย่าล้างไก่ เพราะจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคCampylobacterได้ หลายคนเชื่อ หลายคนไม่เชื่อบอกว่าไร้สาระ
สรุปตรงนี้ก่อนว่าจริง ส่วนจะทำตามไหมลองอ่านดูก่อน
1. ถ้าไปดูพวกฝรั่งทำอาหารแบบถูกสุขลักษณะ เนื้อสัตว์ทั้งหลายของเขา เวลาทำอาหารมักจะแนะนำให้เอาออกจากช่องแช่แล้วทำอาหารเลย หั่นกันแบบแข็งๆ
2. ในทางเดินอาหารของไก่ มีแบคทีเรียเช่น Salmonella และ Campylobacter ซึ่งก่อโรคท้องเสียได้
3. เวลาซื้อเนื้อมา ก็มีโอกาสที่เชื้อจะติดมากับเนื้อได้ จากเชื้อที่มีในสัตว์ตัวนั้น
4. เขาไม่ล้าง เพราะว่าขั้นตอนในการที่เนื้อจะมาถึงผู้บริโภค ไม่ควรไปปนเปื้อนเชื้อจากสิ่งแวดล้อม … ถ้าจะมีเชื้อต้องเป็นเชื้อจากเนื้อสัตว์เท่านั้น
5. ถ้าเชื้อเกิดปนเปื้อนจากมือคนขาย คนขายเอาไปทำตกพื้น แผงที่วางไม่สะอาด การล้างก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก เพราะว่าเชื้อมันอยู่ในเนื้อด้วย … ซึ่งพอลงหม้อเดือดๆก็ตายอยู่ดี
6. ถ้าเราล้าง เพราะว่ามันมีของเปื้อน … เช่น เห็นเศษหญ้า เห็นแมลงวันตายติดอยู่ เห็นขาแมลงสาบ … ก็ไม่ควรกินแต่แรกอยู่แล้ว … (และการล้างก็ไม่ได้เอาเชื้อออกเท่าใดนักอยู่ดี)
7. การล้างเนื้อสัตว์ … กระเด็นแน่นอน … ใครที่ล้างผักแช่ผักในด่างทับทิมจะรู้เลยว่าหยดน้ำมันไปได้ไกล … แต่ทีนี้พอล้างไก่ล้างเนื้อ เรามองไม่เห็นสีเราเลยเข้าใจว่าไม่มีอะไร
8. ถ้าน้ำกระเด็นไปแล้วเราไม่ได้เช็ด พอเราเช็ดอ่างเสร็จแล้วดันเอามือไปแตะแล้วไปจับแก้วจับช้อน ก็ติดเชื้อต่อได้
9. เชื้อ Campylobacter ในไทย อาจจะมีปัญหาไม่มากในผู้ใหญ่เท่าฝรั่ง เพราะว่าเรากินอาหารสุกเยอะหน่อย แต่ถ้าใครกินผักสดและไปล้างผักตรงอ่างนั้น ก็เสี่ยงได้เหมือนกัน
10. Cross contamination คือการแพร่เชื้อที่เจอได้บ่อยโคตรๆในไทย เหตุการณ์ที่ผ่านๆมาหลายครั้ง คนกินอาหารสุกดี แต่ว่าดันท้องเสียหลายๆคนพร้อมกัน ก็เพราะ Cross contamination แบบนี้แหละ
แต่ถ้าใครจะล้างจริงๆ เพราะกลัวความสกปรก ก็อาจจะพอล้างได้ เพียงแต่ว่า
– หากมื้อนั้นมีอาหารที่กินสด ผักสด ข้าวเหนียว(ใช้มือจับ) ก็ต้องทำของสดก่อน แล้วทำเนื้อสัตว์ทีหลัง
– หลังทำอาหารทุกครั้ง พื้นที่อ่างต้องแห้ง ฟองน้ำต้องแห้ง ผ้าเช็ดมือต้องแห้ง
– ต้องล้างมือ 7 ขั้นตอนอย่างถูกวิธี และหากใช้ผ้าเช็ดมือต้องแห้งหรือเปลี่ยนบ่อยๆ
– ที่วางจานที่ล้างเสร็จแล้ว ควรอยู่ห่างจากอ่างที่ล้างเนื้อสัตว์ … ห่างแค่ไหนไม่รู้ แต่กระเด็นได้เป็นเมตร
– อาหารเด็กเล็ก ขวดนมเด็กทารก ต้องไม่มีการเตรียมหรือชงหรือล้างใกล้ๆอ่างที่ล้างเนื้อสัตว์ …
ทุกวันนี้การปนเปื้อนของเชื้อโรคในอาหารนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ก่อนรับประทาน หรือ เลื้อกซื้ออาหารเพื่อนำมาปรุงควรเลือกซื้อจากแหล่งที่ไว้ใจได้ และสดสะอาดอยู่เสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีของเราและคนที่คุณรัก Kaijeaw.com หวังว่าบทความที่นำมาฝากในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อยนะค่ะ
ที่มา:http://kaijeaw.com/