ครม.อนุมัติ 2,500 ล้าน เร่งก่อสร้างระบบระบายน้ำ กทม. 11 โครงการ
ทั้งนี้ ก่อนเดินหน้าโครงการดังกล่าวจะตรวจสอบผลกระทบก่อนดำเนินการอีกครั้ง ซึ่งเชื่อว่าจะไม่กระทบแนวระบบขนส่งมวลชนต่างๆ อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ กทม.มีถนนและซอยต่างๆ แต่ท่อขนาดเล็ก และการเติบโตของเมืองทำให้พื้นที่ชะลอและกักเก็บน้ำหมดไป เมื่อน้ำระบายลงท่อคอนกรีตเก่าขนาดเล็กเพียง 40-80 ซม. ทำให้การขยายและเปลี่ยนท่อลำบาก เนื่องจากสาธารณูปโภคมีถนนและอาคารมากขึ้น ที่ผ่านมาการระบายน้ำจะขึ้นอยู่กับปัจจัยปริมาณน้ำฝนที่ตก เวลาที่ตก และพื้นที่ที่ตก ซึ่ง กทม.ตั้งใจไม่ต้องการให้มีน้ำค้างรอระบายซึ่งต้องใช้เวลา และกระทบกับกายภาพ สภาพท่อและการอุดตัน ที่เป็นปัญหาเรื่องการดูแลซึ่งเราทำเต็มที่เท่าที่ทำได้ และคาดหวังว่าจะลดเวลาการรอระบายให้น้อยที่สุดในสภาพฝนวิกฤต 80 มม. โดยอาจขยับไปรองรับที่ 100-120 มม. และลดเวลาการระบายได้มากขึ้น
ด้าน พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับงบประมาณในการดำเนินงานนั้น ครม.เห็นชอบให้อนุมัติก่อหนี้ผูกพันงบประมาณข้ามปีในโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำในถนนสายหลักของพื้นที่ กทม.จำนวน 11 โครงการ วงเงิน 2,525 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกเสนอวงเงิน 2,227 ล้านบาท แต่ ครม.ได้ปรับลดเหลือ 2,208 ล้านบาท โดยให้จัดสรรงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและก้าวหน้าของประเทศ จำนวน 441 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 1,767 ล้านบาทให้เป็นงบประมาณผูกพันรายจ่ายประจำปีในปีต่อไป ส่วนการดำเนินการระยะที่สอง 289 ล้านบาทให้เป็นรายจ่ายผูกพันงบประมาณปี 2561 เป็นต้นไป ทั้งนี้มั่นใจว่าจะทำให้ระบบระบายน้ำใน กทม.ดีขึ้น เพื่อแสดงความตั้งใจว่ารัฐบาลเร่งแก้ปัญหาในพื้นที่ กทม.ให้ดีขึ้น
พล.ต.สรรเสริญกล่าวว่า สำหรับการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือนั้น ทั้งนี้ที่พบว่าเป็นปัญหามากคือฝั่งแม่น้ำยม เพราะไม่มีเขื่อน เมื่อน้ำไหลผ่านด้านเหนือ 1,150 ลบ.ม./วินาที ทำให้น้ำล้นตลิ่ง ดังนั้นต้องระบายออกทางลำน้ำน่านโดยประตู 6 บาน บางส่วนอาจมีการปิดประตูระบายน้ำยมเก่า เพื่อไม่ให้พื้นที่ท้ายลำน้ำยมได้รับความเสียหายในช่วงฤดูเพาะปลูก นายกฯจึงสั่งการให้หน่วยงานเกี่ยวข้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจว่ารัฐบาลให้ความสนใจแก้ปัญหาตลอดเวลา และชี้แจงให้ละเอียดว่ามีแผนรองรับในกรณีที่ปริมาณฝนตกเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างไรบ้าง โดยรองอธิบดีกรมชลประทาน และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะชี้แจงผ่านรายการเดินหน้าประเทศไทยในวันที่ 18 สิงหาคมนี้
ทีมา http://www.matichon.co.th/news/253636
loading...
เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 17 สิงหาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ กทม.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ ครม.รับทราบ ตามที่กระทรวงมหาดไทยมอบหมายว่า กทม.ได้จัดทำแผนซึ่งขยายจากแผนเดิมในการเร่งรัดดำเนินการโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำในถนนสายหลักของพื้นที่ กทม.จำนวน 11 โครงการ อาทิ ในพื้นที่ถนนสุขุมวิท 7 โครงการ ซึ่งเป็นแหล่งที่เติบโตเร็วทั้งสาธารณูปโภคและอาคาร มีซอยต่างๆ ที่มีการก่อสร้างจำนวนมาก ที่ต้องเสริมท่อในลักษณะดันท่อคอนกรีตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 เมตร และมีบ่อสูบน้ำในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อนำน้ำจากท่อคลองแสนแสบ และคลองบางนา และคลองไผ่สิงโตบางส่วน และพื้นที่แนวถนนสามแยกเกษตรฯ บริเวณตลาดอมรพันธ์ ถนนนราธิวาส 17 และถนนเจริญกรุง โดยใช้วิธีจัดจ้างประกวดราคาแบบอีออคชั่น เพื่อได้ผู้รับจ้างประมาณต้นปี 2560 เพื่อแก้ปัญหาจุดอ่อนไหวที่มีน้ำท่วมขังและอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมได้ 19 พื้นที่ ครอบคลุมพื้นที่ระบายน้ำได้ 26 ตร.กม. ด้วยการเพิ่มท่อใช้วิธีดันใต้ถนนในตำแหน่งใต้ผิวจราจรลึก 3-5 เมตร เพื่อหลบแนวท่อสาธารณูปโภค ทั้งสายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า และที่ไม่ใช่วิธีขุดและเปิดวางเพื่อลดปัญหาปิดจราจรทั้งนี้ ก่อนเดินหน้าโครงการดังกล่าวจะตรวจสอบผลกระทบก่อนดำเนินการอีกครั้ง ซึ่งเชื่อว่าจะไม่กระทบแนวระบบขนส่งมวลชนต่างๆ อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ กทม.มีถนนและซอยต่างๆ แต่ท่อขนาดเล็ก และการเติบโตของเมืองทำให้พื้นที่ชะลอและกักเก็บน้ำหมดไป เมื่อน้ำระบายลงท่อคอนกรีตเก่าขนาดเล็กเพียง 40-80 ซม. ทำให้การขยายและเปลี่ยนท่อลำบาก เนื่องจากสาธารณูปโภคมีถนนและอาคารมากขึ้น ที่ผ่านมาการระบายน้ำจะขึ้นอยู่กับปัจจัยปริมาณน้ำฝนที่ตก เวลาที่ตก และพื้นที่ที่ตก ซึ่ง กทม.ตั้งใจไม่ต้องการให้มีน้ำค้างรอระบายซึ่งต้องใช้เวลา และกระทบกับกายภาพ สภาพท่อและการอุดตัน ที่เป็นปัญหาเรื่องการดูแลซึ่งเราทำเต็มที่เท่าที่ทำได้ และคาดหวังว่าจะลดเวลาการรอระบายให้น้อยที่สุดในสภาพฝนวิกฤต 80 มม. โดยอาจขยับไปรองรับที่ 100-120 มม. และลดเวลาการระบายได้มากขึ้น
ด้าน พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับงบประมาณในการดำเนินงานนั้น ครม.เห็นชอบให้อนุมัติก่อหนี้ผูกพันงบประมาณข้ามปีในโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำในถนนสายหลักของพื้นที่ กทม.จำนวน 11 โครงการ วงเงิน 2,525 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกเสนอวงเงิน 2,227 ล้านบาท แต่ ครม.ได้ปรับลดเหลือ 2,208 ล้านบาท โดยให้จัดสรรงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและก้าวหน้าของประเทศ จำนวน 441 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 1,767 ล้านบาทให้เป็นงบประมาณผูกพันรายจ่ายประจำปีในปีต่อไป ส่วนการดำเนินการระยะที่สอง 289 ล้านบาทให้เป็นรายจ่ายผูกพันงบประมาณปี 2561 เป็นต้นไป ทั้งนี้มั่นใจว่าจะทำให้ระบบระบายน้ำใน กทม.ดีขึ้น เพื่อแสดงความตั้งใจว่ารัฐบาลเร่งแก้ปัญหาในพื้นที่ กทม.ให้ดีขึ้น
พล.ต.สรรเสริญกล่าวว่า สำหรับการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือนั้น ทั้งนี้ที่พบว่าเป็นปัญหามากคือฝั่งแม่น้ำยม เพราะไม่มีเขื่อน เมื่อน้ำไหลผ่านด้านเหนือ 1,150 ลบ.ม./วินาที ทำให้น้ำล้นตลิ่ง ดังนั้นต้องระบายออกทางลำน้ำน่านโดยประตู 6 บาน บางส่วนอาจมีการปิดประตูระบายน้ำยมเก่า เพื่อไม่ให้พื้นที่ท้ายลำน้ำยมได้รับความเสียหายในช่วงฤดูเพาะปลูก นายกฯจึงสั่งการให้หน่วยงานเกี่ยวข้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจว่ารัฐบาลให้ความสนใจแก้ปัญหาตลอดเวลา และชี้แจงให้ละเอียดว่ามีแผนรองรับในกรณีที่ปริมาณฝนตกเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างไรบ้าง โดยรองอธิบดีกรมชลประทาน และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะชี้แจงผ่านรายการเดินหน้าประเทศไทยในวันที่ 18 สิงหาคมนี้
ทีมา http://www.matichon.co.th/news/253636