เปิดคำพิพากษาศาลฎีกา เมียจรัญ ภักดีธนากุล โกงที่ 51 แปลง

ไม่เพียงแค่ “แทน เทือกสุบรรณ” เท่านั้นที่มีชนักติดหลัง “ปมปัญหา” เรื่อง “โกงที่ดิน”
loading...
แต่หากย้อนเวลากลับไป “สุเทพ เทือกสุบรรณ” แกนนำ กปปส. ผู้เป็นพ่อ ก็เคยสร้างความอื้อฉาวมาแล้ว เมื่อครั้งเป็น “รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์”สมัย “รัฐบาล ชวน หลีกภัย” พ.ศ.2538 (ชวน 1 ) แล้วดำเนินนโยบายปฏิรูปที่ดินเกษตรกร “สปก.4-01” เพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในภาคใต้ แต่สุดท้ายมีแต่ชื่อ “นายทุน” และ “คนใกล้ชิดนักการเมือง” พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โดยเฉพาะ “ทศพร เทพบุตร” สามีของ “อัญชลี เทพบุตร” เลขานุการส่วนตัวสุเทพ เทือกสุบรรณ เข้าถือครองที่ดิน สปก.4-01 ด้วย
ซึ่งเรื่องนี้ สุดท้ายแล้วมี “คำพิพากษาศาลฎีกา” ออกมาให้มีการ “คืนที่ดิน สปก.” อย่างชัดเจน
อีกกรณีที่น่าสนใจ ก็คือ “การถือครองที่ดินเขายายเที่ยง” จ.นครราชสีมา ของ “พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานทท์” องคมนตรี ที่เรื่องอื้อฉาวขึ้นมาขณะดำรงตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” จนสุดท้ายต้องจำใจ ย้ายสำมะโนครัว ลงมาจากเขายายเที่ยงในท้ายที่สุด
กรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละกรณีดังที่กล่าวมา ล้วนแล้วแต่เกิดกับ “กลุ่มคน” ที่ “มวลมหาสาวกประชาธิปัตย์(ปชป.)” เชิดชูว่า “คนดี” ทั้งสิ้น
แต่ไม่เพียงเท่านั้น ตลอดช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีข่าวกระเส็นกระสายมาตลอดว่า “คู่ชีวิต” ของหนึ่งใน “ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” ก็มี “คดีความ” เกี่ยวกับเรื่อง “ที่ดิน” ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
โดย “ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” คนนี้ก็เป็นอีกคนที่ “มวลมหาสาวก ปชป.” นั่งยัน ยอนยันว่า “คนดี๊-คนดี” เช่นกัน !!!
จากการตรวจสอบพบว่า เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2556 ศาลฎีกา มีคำพิพากษาเลขที่ 435/2556 กรณีที่ พ.ต.หญิงสินเสริม เลขะวนิช โดยนางกัลยาณี รุทระกาญจน์ มูลนิธิสินเสริมธรรม และ น.ส.สุภา วงศ์เสนา ร่วมกันเป็นโจทก์ ฟ้องร้อง นางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล (สกุลเดิม สุนทรพันธ์) ภรรยานายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และนางจินดา สุนทรพันธ์ กรณีที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธ์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 20550 และ 23716 ถึง 23765 ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา รวม 51 แปลง โดยเมื่อปี 2538 ได้ดำเนินการรวมทั้งดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นแปลงเดียวกันแล้วแบ่งเป็นแปลงย่อยไม่เกินแปลงละ 50 ตารางวา เพื่อนำออกขายแก่บุคคลทั่วไป โดยนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล ตกลงรับเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทย์เพื่อยื่นเรื่องราวของรวมโฉนดที่ดินแล้วแบ่งแยกที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ โดยโจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง
จากนั้นนางทีปสุรางค์นำแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจประมาณ 15 ฉบับ มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ ซึ่งไม่ได้กรอกข้อความไว้ โดยนางทีปสุรางค์ อ้างว่าจะนำไปกรอกข้อความที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจนโจทก์หลงเชื่อได้ลงลายมือชื่อ และมอบหนังสือมอบอำนาจทั้ง 15 ฉบับ ให้นางทีปสุรางค์ไป ต่อมาประมาณเดือนพฤศจิกายน 2540 โจทก์ทราบว่านางทีปสุรางค์ มิได้รวมและแบ่งแยกโฉนดที่ดินทั้ง 51 แปลง ตามเจตนาของโจทก์ตั้งแต่แรก แต่กลับสมคบกับจำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริต นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ดังกล่าว ไปกรอกข้อความจดทะเบียนโอนที่ดินไปเป็นของจำเลยทั้งสอง โดยนางทีปสุรางค์ กรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจจำนวน 5 ฉบับ
โดยหนังสือมอบอำนาจฉบับที่ 1 นางทีปสุรางค์ ร่วมกับพวกกรอกข้อความอ้างว่าเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2538 โจทก์มอบอำนาจให้นางทีปสุรางค์ ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดิน รวม 11 แปลง ให้แก่นางทีปสุรางค์เอง และใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินให้ตัวเอง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2538
หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ 2 นางทีปสุรางค์ ร่วมกับพวกกรอกข้อความอ้างว่าเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2538 โจทก์มอบอำนาจให้นางทีปสุรางค์ ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดิน รวม 24 แปลงแก่นางทีปสุรางค์เอง และใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินให้ตัวเอง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2538
หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ 3 นางทีปสุรางค์ ร่วมกับพวกกรอกข้อความอ้างว่าเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2538 โจทก์มอบอำนาจให้นางทีปสุรางค์ ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดิน รวม 7 แปลงแก่จำเลยที่ 2 โดยใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินให้ตัวเอง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2538
หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ 4 นางทีปสุรางค์ ร่วมกับพวกกรอกข้อความอ้างว่าเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2538 โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนขายที่ดิน รวม 7 แปลงแก่จำเลยที่ 2 และใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินให้ตัวเอง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2538
และ หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ 5 นางทีปสุรางค์ ร่วมกับพวกกรอกข้อความอ้างว่าเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2539 โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนขายที่ดิน รวม 2 แปลงแก่จำเลยที่ 2 และใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินให้ตัวเอง เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2539
ซึ่งการกรกอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต เนื่องจากโจทก์มิได้ขายที่ดินและไมเคยได้รับเงินค่าที่ดินจากจำเลยทั้งสอง การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำไปโดยผิดเจตนาของโจทก์ การกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว เป็นการร่วมกันปลอมเอกสารหนังสือมอบอำนาจทั้ง 5 ฉบับ จึงเป็นเอกสารปลอม จะนำมาใช้จดทะเบียนนิติกรรมใดๆไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสอง นำไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินจึงเป็นโมฆะ โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินแล้วทะเบียนโอนคืนแก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ทำให้โจทก์เกิดความเสียหาย ซึ่งปัจจุบันที่ดินมีราคาเป็นเงิน 45,000,000 บาท และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวทั้ง 5 ฉบับข้างต้นทั้งหมด รวมทั้งสิ้น 51 แปลงและจดทะเบียนโอนคืนแก่โจกท์โดยให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย หากจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสอง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันออกค่าใช้จ่าย หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถโอนให้ได้ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าที่ดิน จำนวน 45,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จตามโจทก์
โดยในการพิพากษาของ “ศาลฎีกา” ได้วินิจฉัยว่า โจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสอง แต่เป็นกรณีที่ นางทีปสุรางค์ จำเลยที่ 1 หลอกลวงให้โจทก์และโจทก์ร่วมลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ โดยไม่ได้กรอกข้อความแล้วนำไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตัวเอง และจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้เป็นไปตามเจตนาของโจทก์และโจทก์ร่วม ที่มอบอำนาจให้นางทีปสุรางค์ จำเลยที่ 1 ไปแบ่งแยกที่ดินพิพาท เป็นแปลงย่อยเพื่อขายต่อเท่านั้น การกระทำของนางทีปสุรางค์ จำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นความเสียหายต่างๆ หากเกิดขึ้นจริงดังที่นางทีปสุรางค์ จำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง ก็เกิดจากการทำผิดกฎหมายและศีลธรรมทั้งสิ้น
โดยพิพากษากลับให้นางทีปสุรางค์ จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรม โอนขายที่ดินตามหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 2 ตุลาคม 2538 ทุกฉบับ ระหว่างโจทก์และโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทจำนวน 35 แปลงแล้วทะเบียนโอนกลับมาเป็นชื่อโจทก์และโจทก์ร่วม โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรม การโอนขายที่ดิน ตามหนังสือมอบอำนาจ ฉบับวันที่ 2 ตุลาคม 2538 และฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2539 ระหว่างโจทก์และโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2 ในที่ดินพิพาทจำนวน 16 แปลง แล้วจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมโดยให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง หากจำเลยทั้งสองไม่อาจโอนที่ดินกลับมาเป็นชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมได้ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกัน ชดใช้ราคาที่ดิน 45,000,000 บาท ให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วม กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียม ทั้งสามศาลแทนโจทก์และโจทก์ร่วม โดยกำหนดค่าทนายความ 100,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียม ในส่วนของฟ้องแย้งทั้ง 3 ศาลให้ !
คนดี…คนดี !!
http://pantip.com/topic/31747217
Powered by Blogger.