

ผมได้รับการดูแล และอำนวยความสะดวก โดยเจ้าหน้าที่ไทย ทั้งในส่วน ตรวจคนเข้าเมือง และ ศุลกากร ซึ่งเดินทางเข้าใน สปป.ลาว ในระดับ VIP ที่ฝั่งไทย จัดทำเอกสารให้ และถึงฝั่งลาว จึงได้รับการอำนวยความสะดวก ที่ผ่านมาจึงไม่พบปัญหา
แต่...ผมก็เคยได้ยินได้อ่าน บทความที่มีการแชร์เตือนต่อๆกันมา ว่าให้คนไทย ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว สปป.ลาว ชายแดนฝั่งอุบลราชธานีว่า



ในส่วนบ้านเราไม่มีปัญหา แต่เมื่อมาถึงฝั่ง สปป.ลาว ผมก็นำเอกสารของผู้เดินทาง คือ หนังสือเดินทาง และ ใบอนุญาตผ่านแดนชั่วคราว เข้าไปติดต่อ ตรวจคนเข้าเมือง และ ศุลกากร ลาว ทั้งสองหน่วยงาน ซึ่งต้องใช้เวลาในการกรอกเอกสารพอสมควร รวมทั้งกรอกรายละเอียดของผู้ติดตาม อีก 2 ท่านด้วย ซึ่งเราจะได้แบบฟอร์ม ฝั่ง สปป.ลาวมาเขียนเยอะมาก

เมื่อผ่านการตรวจ จาก ตม.และ ศุลกากรแล้ว ต้องนำมาให้เจ้าหน้าที่อีกท่านหนึ่งเซ็นเอกสาร ในระหว่างการตรวจเอกสาร ปรากฎว่า ใบอนุญาตผ่านแดนชั่วคราว ของ คุณแม่ และของน้า รวมทั้ง หนังสืออนุญาตรถยนต์ระหว่างประเทศ ไม่มีการประทับตรา แต่อย่างใด
เมื่อผมตรวจพบ ผมจึงแจ้งให้หัวหน้า คนนั้นทราบ ผมไม่แน่ใจว่าเขาจะรู้เห็นกับการที่ข้าราชการ 2 ท่าน จงใจไม่ประทับตราหรือไม่ เพราะ เขาบอกผมว่า ไม่ต้องประทับตราก็ได้
ด้วยความไม่สบายใจ จึงโทรกลับมาสอบถาม ตรวจคนเข้าเมืองฝั่งไทย ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่รู้จักกันเป็นส่วนตัว ท่านยืนยันว่า ต้องประทับตรา ในเอกสาร
ผมจึงแจ้งเจ้าหน้าที่คนนั้นว่า ตม.ไทย ยืนยันว่า ต้องประทับตราครับ เขาจึงให้ผมนำเอกสาร กลับไป ที่ ตม.และ ศุลกากร เพื่อประทับตราอีกครั้ง
เมื่อเดินทางไปเวียงจันทร์กลับมาแล้ว จนถึงไทยโดยสวัสดิภาพ ผมได้ยินว่า มีคนไทย 3 คน ไม่ได้ประทับตรา ถูกปรับ คนละ 8,000 บาท
และทนายเกิดผล ยังได้ฝากอีกว่า เรื่องนี้ผมไม่อยากกล่าวหาว่า ตม.ลาว และ ศุลกากร ลาว จงใจไม่ประทับตรา ในใบผ่านแดนชั่วคราวของ คุณแม่ และน้าผม รวมทั้ง ในหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศหรือไม่
แต่มันเป็นอุทาหรณ์ นำมาเล่าสู่กันฟังว่า เวลาเราไปเที่ยวกันหลายๆคน เอกสารหลายใบ เราควรตรวจสอบให้รอบครอบทุกๆครั้ง ครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook : เกิดผล เกิดแก้ว