สิทธิของตนเอง เป็นสิ่งที่หลายคนไม่ค่อยได้รับรู้อย่างถ่องแท้เท่าไหร่นัก ยิ่งในบางคนที่ไม่รู้ข้อกฎหมาย บางเรื่องก็แทบจะไม่รู้เลยว่า ตนเองมีสิทธิอย่างไรบ้าง บางครั้งอาจจะต้องสูญเสียสิทธิของตนเองไป หรืออาจจะโดนคนหัวหมอหลอกเอาได้ง่ายๆ อย่างเช่นเรื่องของ พรบ.การเบิกค่าทดแทนหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับตัวเอง หลายคนไม่รู้เลยว่าเรามีสิทธิที่จะเบิกเงินทดแทนโดยไม่ต้อง "ขึ้นศาล"
เฟซบุ๊ก ลีโอ มิตรแท้ฯได้ออกมาให้ความรู้ เกี่ยวกับการเบิกเงินทดแทนในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น และเราเป็นผู้เสียหาย โดยได้ให้รายละเอียดว่า
"อันนี้สาระจริงๆ คนไทยรู้จักหน้าที่ แต่ไม่รู้จักสิทธิของตัวเอง เบิกได้กับรถทุกชนิด แม้แต่เดินอยู่บนถนนถูกรถชนก็เบิกได้ ฉะนั้นไม่ทำพรบ.ไม่ได้ ถ้าเกิดเหตุผู้เสียหายสามารถเรียกร้องตามนี้ได้ #สำคัญอย่ามองข้ามพรบ."
1. การเบิกใช้สิทธิ์ พรบ. ในวงเงินค่าเสียหายเบื้องต้น
ค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ ทุกคนที่ประสบภัยจากรถคันที่ขับขี่หรือนั่งซ้อนท้ายมา กรณีรถจยย.หรือนั่งโดยสารมาในรถกรณีรถยนต์ รวมถึงคนเดินถนน ที่ไม่ได้ขับขี่หรือซ้อนท้ายหรือโดยสารในรถคันอื่นๆ โดยไม่ต้องรอสรุปผลทางคดี ( หมายความว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ พรบ. จะคุ้มครองผู้ประสบภัยทุกคนทันที ) ตามลักษณะความเสียหายดังนี้
1.1 กรณีบาดเจ็บ เบิกจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ในวงเงินตามที่รักษาจริงไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน (ปรับเพิ่มจากเดิมคุ้มครองเพียง 15,000 บาท) เช่น บาดเจ็บเล็กน้อย ค่ารักษาตามใบเสร็จ 5,720 บาท ผู้ประสบภัยจะเบิกเองหรือมอบอำนาจให้รพ. ตั้งเบิกกับบริษัทกลางฯ ผ่านระบบออนไลน์ ( e-claim online หรือระบบสินไหมอัตโนมัติ โดยบริษัทฯ จะโอนเงินจ่ายคืนรพ.ภายใน 7 วันนับแต่วันที่รพ. ส่งเรื่องตั้งเบิก) กรณี บาดเจ็บปานกลาง ถึงสาหัส มีค่ารักษา 30,000 บาท เบิกได้ 30,000 บาท โดยบริษัทกลางฯ จัดทำระบบ สินไหมอัตโนมัติและประสานขอความร่วมมือรพ. ทุกแห่งเข้าใช้ระบบ เพื่อลดภาระของประชาชนและผู้ประสบภัยจากรถ โดยรพ.เป็นผู้รับมอบอำนาจเบิกจ่ายจากบริษัทกลางฯ แทนปชช. ซึ่งปัจจุบัน ทุกรพ. จะรับมอบอำนาจเบิกแทนประชาชนอยู่แล้วค่ะ และหากกรณีบาดเจ็บสาหัส มีค่ารักษาเกินกว่า 30,000 บาท จะเบิกใช้สิทธิ์ได้จากวงเงินค่าเสียหายเบื้องต้นไปก่อน 30,000 บาท ส่วนเกินที่เหลือ ผู้ประสบภัยหรือทายาท สามารถตัดสินใจเบิกส่วนเกินดังกล่าวจาก
– สิทธิ์บัตรทอง 30 บาท ( ถ้ามี)
– สิทธิ์ประกันสังคม ( ถ้ามี)
– รอดูผลสรุปทางคดี กรณีมีคู่กรณี โดยหากคู่กรณีหรือ ผู้ขับขี่เป็นฝ่ายประมาท เช่นผู้ประสบภัยเป็นผู้โดยสารในรถจยย.รับจ้าง ขับขี่ประมาทไปล้มเอง ไม่มีคู่กรณีเฉี่ยวชน ลักษณะเหตุแบบนี้ ผู้โดยสารจะได้รับความคุ้มครองสูงสุดกรณีบาดเจ็บ ในวงเงินค่าสินไหมทดแทน ตามข้อ 2. ค่ะ
1.2 กรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะ โดยนิยามของ พรบ.ฯ กำหนดลักษณะของการสูญเสียอวัยวะตั้งแต่ 1 ข้อนิ้วขึ้นไป เช่น นิ้วขาด ครึ่งข้อ ไม่ถือเป็นการสูญเสียอวัยวะ กรณีนิ้วนิ้วใด ๆ ขาด 1 ข้อ หรือ สูญเสียมือทั้งมือ แขนทั้งแขน เบิกใช้สิทธิ์กรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะ ได้จำนวน 35,000 บาทต่อคน (สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
1.3 กรณีถึงแก่ชีวิต เบิกจ่ายเป็นค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาทต่อคน (สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) สรุปวงเงินคุ้มครองกรณีค่าเสียหายเบื้องต้น คุ้มครองสูงสุด 65,000 บาทต่อคน (หกหมื่นห้าพันบาทถ้วน) เนื่องจากผู้ประสบภัยจากรถ อาจได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือสูญเสียอวัยวะ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ หรืออาจเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ สามารถเบิกใช้สิทธิ์ในแต่ละลักษณะของการบาดเจ็บ
2. การเบิกใช้สิทธิ์ พรบ. ในวงเงินค่าสินไหมทดแทน
เป็นการเบิกใช้สิทธิ์หลังจากสรุปผลทางคดีแล้ว ว่าผู้ขับขี่รถคันใดเป็นฝ่ายประมาท ผู้ประสบภัยทุกคนจะเบิกใช้สิทธิ์จากวงเงินที่ใช้ไปแล้ว จากวงเงินคุ้มครองสูงสุดต่อคน ได้จากกรมธรรม์คันที่เป็นฝ่ายผิด โดยเบิกจ่ายจากลักษณะความเสียหาย 3 ลักษณะเหมือนค่าเสียหายเบื้องต้นแต่วงเงินคุ้มครองสูงกว่า และเพิ่มการเบิกใช้สิทธิ์อีก 1 กรณี รวมเป็น 4 กรณี ดังนี้
2.1 กรณีบาดเจ็บ เบิกเป็นค่ารักษาพยาบาล วงเงินคัมครองสูงสุดต่อคน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) โดยหากผู้ประสบภัยเบิกใช้สิทธิ์ค่าเสียหายเบื้องต้นไปแล้ว 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) จะเหลือสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลอีก 20,000 บาท(สองหมื่นบาทถ้วน)
2.2 กรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะ วงเงินคัมครองสูงสุดต่อคน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) โดยหากผู้ประสบภัยเบิกใช้สิทธิ์ค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีสูญเสียอวัยวะไปแล้ว 35,000 บาท (สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และเบิกค่ารักษาพยาบาลไปอีก 30,000 บาท(สามหมื่นบาทถ้วน) จะเหลือสิทธิ์เบิกค่าสินไหมทดแทน = 200,000 – 35,000-30,000 จะเหลือสิทธิ์อีก 135,000 บาท(หนึ่งแสนสามหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
2.3 กรณีเสียชีวิต วงเงินคัมครองสูงสุดต่อคน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) โดยหากผู้ประสบภัยเบิกใช้สิทธิ์ค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าปลงศพไปแล้ว 35,000 บาท (สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และเบิกค่ารักษาพยาบาลไปอีก 30,000 บาท(สามหมื่นบาทถ้วน) จะเหลือสิทธิ์เบิกค่าสินไหมทดแทน = 200,000 – 35,000-30,000 จะเหลือสิทธิ์อีก 135,000 บาท(หนึ่งแสนสามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) หรือ กรณีทายาทผู้ประสบภัย เบิกใช้สิทธิ์ค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าปลงศพ อย่างเดียวเป็นจำนวน 35,000 บาท (สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) โดยไม่ได้เบิกค่ารักษาพยาบาล จะเหลือสิทธิ์เบิกค่าสินไหมทดแทน = 200,000 – 35,000 จะเหลือสิทธิ์อีก 165,000 บาทต่อคน(หนึ่งแสน หกหมื่นห้าพันบาทถ้วน) 2.4 เบิกเป็นค่าชดเชยกรณีนอนพักรักษาตัวในรพ. วันละ 200 บาทต่อคน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน รวมวงเงินสูงสุด =200*20 =4,000 บาท(สี่พันบาทถ้วน) เช่นนอนพักรักษาตัวในรพ. 5 วัน จะได้รับค่าชดเชย 200*5 วัน = 1,000 บาท รวมวงเงินคุ้มครองสูงสุดต่อผู้ประสบภัย 204,000 บาท (สองแสนสี่พันบาทถ้วน) ต่อผู้ประสบภัย ซึ่งการทำความเข้าใจในการเบิกจ่ายจากสิทธิ์ พรบ. เป็นการเบิกตามเงื่อนไขตามกฏหมาย การอธิบายให้ประชาชนเข้าใจโดยละเอียด เป็นเรื่องยากค่ะ จึงขออนุญาติเรียนแนะนำให้ผู้สนใจและผู้พบปัญหา โทรสอบถามได้ที่สายด่วน Call Center บริษัทกลาง ฯ หมายเลข 1791 หรือเข้าไปติดต่อสอบถามที่จนท.บริษัทกลางฯ ซึ่งมีสาขาเปิดให้บริการอยู่ทุกจังหวัด หรือหน่วยบริการประชาชนของบริษัทกลางฯ ที่รพ. จังหวัดทุกแห่ง โดยบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด มีเวปไซต์เช็คข้อมูลเบอร์โทรสาขาทั่วประเทศ ที่ www.rvp.co.th
จึงขอเรียนประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ทุกท่านได้ทราบ และขอขอบคุณ Pantip.com ที่เปิดช่องทางการสื่อสารสารสาธารณะนี้ ขอบคุณค่ะ
ปล. อย่าลืมประกัน พรบ. กันนะคะ เบี้ยประกันภัยกรณีรถจยย. เพียง 323 บาท (กรณี ซีซีรถไม่เกิน 125 ซีซี ) เท่ากับเสียเบี้ยวันละไม่ถึง 1 บาท แต่คัมครองสูงสุดต่อคนถึง 204,000 บาท ( วงเงินสินไหมทดแทน ) หรือ 65,000 บาทต่อคน ( วงเงินค่าเสียหายเบื้องต้น) โดยปัจจุบันคุ้มครองเกือบทุกกรณี ทั้งกรณีผู้ขับขี่ไม่มีใบขับขี่ ทะเบียนขาด เมาสุรา ฯลฯ ก็สามารถเบิกใช้สิทธิ์ได้เนื่องจากเป็นการเยียวยาประชาชนผู้ประสบภัยจากรถเพื่อลดผลกระทบทางอุบัติเหตุทางรถค่ะ โดยรถจยย.ทุกคันสามารถทำประกันภัยได้ ทั้งรถเก๊าเก่า รถใหม่ป้ายแดง คุ้มครองเท่ากันค่ะ
เป็นข้อมูลดีๆที่ควรรู้จริงๆค่ะ ไข่เจียวเชื่อว่ามีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้สิทธิในข้อนี้ ข้อมูลแบบนี้ควรบอกต่อนะจ๊ะ
ขอบคุณที่มา http://www.share-si.com/2016/09/blog-post_885.html