ผลสำรวจพบดินประสิวในไส้กรอก 14 ยี่ห้อดัง มีเพียง 1 ยี่ห้อที่ไม่มี!

เห็นข่าวนี้แล้วอยากแชร์ให้คุณแม่ๆ ได้ทราบข้อมูลกันไว้นะคะ เพราะเด็กๆส่วนมากมักชอบทานไส้กรอก กันเป็นส่วนใหญ่ คุณแม่จะได้เลือกซื้อไส้กรอกกันอย่างระมัดระวังยิ่งขึ้น
โดยนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นางสาวมลฤดี โพธิ์อินทร์ กล่าวว่า ศูนย์ทดสอบของนิตยสารฉลาดซื้อสุ่มทดสอบปริมาณดินประสิว หรือสารไนเตรทและไนไตรท์จากตัวอย่างไส้กรอกในท้องตลาด 15 ตัวอย่าง โดยมีเพียงยี่ห้อเดียวคือค๊อกเทลซอสเซส ตราไทยซอสเซส ของบริษัทไทย – เยอรมัน มีท โปรดักส์ จำกัด ไม่พบทั้งไนเตรทและไนไตรท์ ขณะที่อีก 14 ยี่ห้อ หรือกว่าร้อยละ 93.33 มีการเจือปนของสารดังกล่าว

นักวิชาการฯ กล่าวต่อไปว่า ไส้กรอกร้อยละ 73.33 หรือจำนวน 11 ยี่ห้อใส่สารไนเตรทและไนไตรท์ไม่เกินมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด คือ

1.บีลัคกี้

2.มิสเตอร์ ซอสเซส

3.บุชเชอร์

4.JPM

5.เซเว่น เฟรช

6.TGM

7.My Choice

8.BMP
9.S&P

10. P.Pork

11.เบทาโกร

ส่วน 3 ยี่ห้อ หรือร้อยละ 20 พบปริมาณสารดังกล่าวเกินมาตรฐานคือ

1.เอโร่

2.NP และ

3.บางกอกแฮม

ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฯ ให้ความเห็นว่า นิตยสารฉลาดซื้อพยายามทำข้อมูลเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อของเหล่านี้ โดยความคาดหวังของคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ต้องการเห็นว่ามีพลังผู้บริโภคที่ไปสนับสนุนการซื้อ เช่น ไส้กรอกของบริษัทไทยเยอรมันฯ ที่ไม่มีสารไนเตรทและไนไตรท์ หากผู้บริโภคเลือกซื้อจะเป็นพลังที่บอกว่าพวกเราต้องการไส้กรอกที่ไม่ใช้สารดังกล่าว

นอกจากนี้เธอยังหวังว่าไส้กรอก 3 ยี่ห้อ ที่พบสารไนเตรทและไนไตรท์เกินมาตรฐาน ทาง อย.จะดำเนินการจัดการ เพราะ อย.มีหน้าที่กำกับดูแลมาตรฐานอาหาร ส่วนการแสดงฉลาก มีเพียง 6 ตัวอย่างที่แสดงข้อมูล แต่เป็นการแสดงข้อมูลโดยใช้รหัส ซึ่งผู้บริโภคเข้าใจได้ยาก ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ฉลากเป็นมิตรกับผู้บริโภคว่าเห็นแล้วรู้ว่ายี่ห้อนี้ใส่สารกันบูดหรือไม่

การรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ท้องเสียรุนแรง ยิ่งผู้ที่มีอาการแพ้อาจส่งผลต่อระบบหายใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว หมดสติหรือเสียชีวิตได้ และที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนว่าการรับประทานอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เช่น เบคอน ไส้กรอก แฮม ในปริมาณมากเกินไปอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้

ดังนั้น ขอให้ประชาชนเลือกรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ และตรวจสอบข้อมูลโภชนาการทุกครั้งหลีกเลี่ยงการรับประทานกลุ่มที่มีการผสมสารกันบูดในอัตราที่เหินกำหนด หรือไม่ควรมีการผสมสารดังกล่าวเลย อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้มพบ.จะมีการส่งหนังสือไปยังบริษัทที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เพื่อแจ้งผลการทดสอบและขอให้มีการปรับปรุงการใช้สารผสมในอาหารให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด รวมถึงส่งหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้มีการติดตามตรวจสอบ และควบคุมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้ได้มาตรฐานด้วย
ทีมา khaojing.blogspot.com
Powered by Blogger.