โดนหลอกกันทั้งประเทศ?! "ปลาดอลลี่" แท้จริงแล้วคือ…….!!

ไขข้อสงสัย ปลาดอลลี่ ที่แท้เป็น ปลาสวาย จริงหรือ ?

ปัจจุบันได้มีกระแสหลายกลุ่มตั้งคำถามว่า เนื้อปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ ที่มีสีขาวน่าทานนั้น ก็ไม่ต่างอะไรจากเนื้อปลาสวายบ้านเราเลย พอกระแสนี่ถูกเผยแพร่ออกไป ทำเอาหลายคนรู้สึกไม่อยากกินเนื้อปลาแพนกาเซียสดอรร์รี่ขึ้นมาทันที ความจริงแล้วมันเป็นแบบนั้นจริงหรือไม่ มาไขความกระจ่างกันดีกว่า

โดยแบ่งสายพันธ์ปลาที่ถูกพาดพิงออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักๆได้แก่

1. สายพันธุ์ปลาดอรี่ อาศัยอยู่ในทะเลลึกของมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้มีราคาแพง มีลักษณะเป็นปลาตัวกลมๆ เนื้อปลามีสีขาว รสชาติอร่อย และถูกนำเข้ามาในไทยนานแล้ว



2. สายพันธุ์ปลาในกลุ่มแพนกาเซียสหรือปลาสวาย ปลายที่อยู่ในตระกูลนี้ได้แก่ ปลาเทโพ ปลาบึก ปลาคัง และปลาแพนกาเซียส ซึ่งปลาแพนกาเซียสจะมีรสชาติคล้ายปลาดอร์รี่ แต่ราคาถูกกว่า ซึ่งจะเรียกมันว่า ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ก็ยาวไป จึงเรียกย่อๆว่า ปลาดอร์รี่ และเรียกกันอย่างติดปาก

ประเทศไทยนำเข้ากลุ่มปลาแพนกาเซียสดอร์รีมาจากเวียดนาม แบ่งเป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่ TRA และ BASA ทำให้สับสนในการเรียกชื่อปลา จึงมีการตกลงให้ใช้ชื่อสากลตรงกันว่า “แพนกาเซียสดอร์รี่” แต่เรียกชื่อท้องถิ่นคือ “ปลาสวาย” นั่นเอง

แม้ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่จากเวียดนามกับปลาสวายไทยจะเป็นปลาชนิดเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันตรงวิธีการเลี้ยง สภาพแวดล้อม อาหารที่ให้ ทำให้เนื้อปลามีคุณภาพต่างกันมาก
คุณค่าทางโภชนาการ

แพนกาเซียสดอร์รี่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีกรดอะมิโน ไขมันโอเมก้า 3 วิตามินบี2 วิตามินดี แคลเซียส ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ไอโอดีน และแมกนีเซียม แต่ไม่ว่าจะปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ หรือปลาสวาย ก็สามารถบริโภคและได้คุณค่าทางสารอาหารทั้งนั้น จะต่างก็แค่รสชาติความอร่อย เนื้อสัมผัสเวลาทานเท่านั้น

ทำความรู้จัก "ปลาดอร์ลี่" ตัวจริง กับ ย้อมแมว




ปลาดอร์ลี่ตัวจริงอยู่ในทะเลลึกที่มหาสมุทแอตแลนติก และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เนื้อแน่น น่ากิน มีชื่อเล่นว่า "จอห์น ดอร์ลี่" (John Dory) ชื่อวิทยาศาสตร์ Zenopsis conchifera
ภาพเปรียบเทียบระหว่างปลาดอร์ลี่ ตัวจริงกับ ปลาดอร์ลี่ย้อมแมว

ภาพปลาดอร์ลี่ กับปลาทะเลที่มีชื่อเสียงชนิดต่าง ๆ



เป็นยังไงครับเมื่อทราบข้อมูลที่แท้จริงเช่นนี้แล้ว ก็ต้องเริ่มคิดใหม่แล้วครับอย่าให้ถูกต้มถูกหลอกอีกต่อไป......
อ่านแล้วก็ใช้วิจารณญาณในการเลือกจ่ายเงินก็แล้วกันนะค่ะ แต่สำหรับท่านที่่ "เสียใจ แต่ไม่แคร์" ก็สุดแล้วแต่ เพราะแต่ละบาทของท่าน ๆ เป็นคนหาเอง อีฉันไม่ได้เข้าไปช่วยหาแต่อย่างใด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:http://www.myquestionth.com/question/5097 และ http://www.hotnewshotclip.com/2016/06/blog-post_486.html
Powered by Blogger.