หลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากครองมะขามเฒ่า เกิดปีวอก ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ครอบครัวของท่านเป็นชาวนา เมื่อท่านมีอายุ ๗ ขวบ บิดาได้นำตัวไปฝากไว้ที่วัดปากครองมะขามเฒ่าเพื่อให้ได้เล่าเรียนอ่าน กระทั่งแตกฉานทั้งหนังสือไทยหนังสือขอม หลวงปู่ศุขกลับมาอยู่บ้าน เมื่อเป็นหนุ่มแล้ว และมีคู่ครองกับสาวงามคนหนึ่ง มีลูกชาย ด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ สอน เกศเวช สุรุยา ครั้นอายุครบบวช ท่านก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดปากครองมะขามเฒ่า ศึกษาทั้งพระปริยัติและปฏิบัติได้ระดับหนึ่ง ก็ออก จาริกธุดงค์ แสวงหาพระอาจารย์ และโมกขธรรมหลายปีดุจสาบสูญ เพราะไม่กลับวัดปากครองมะขามเฒ่าเลยตั้งแต่ออกธุดงค์
เมื่อหลวงปู่ศุขกลับคืนลำเนาบ้านเกิด ภูมิจิตรภูมิธรรม ของท่านก็บรรลุถึงขั้นเป็นอัศจรรย์ และว่ากันว่าท่านสำเร็จกสิณสิบ แสดงฤทธิ์อภิญญาได้อย่างมหัศจรรย์ เมื่อหลวงปู่ศุขกลับมาอยู่วัดปากครองมะขามเฒ่า และดำรงตำเเหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ ท่านเป็นอาจารย์ที่เคารพที่สุดของ พระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งกองทัพเรือ การที่กรมหลวงชุมพรฯ มีโอกาสมอบตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่ศุข จะกล่าวคือ
เมื่อครั้ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จไปตากอากาศท่างภาคเหนือ พระองค์เสด็จทางเรือ ล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา โดยใช้เรือกลไฟลากจูงเรือประเทียบ เมื่อเสด็จกลับพระองค์ให้เข้าทางแม่น้ำจีน ขณะล่องเรือมาถึงหน้าวัดปากครองมะขามเฒ่า เครื่องยนต์เรือกลไปเกิดขัดข้องขึ้นมาอย่างกะทันหัน ทำให้แล่นต่อไปไม่ได้ จะแก้ไขอย่างไรก็ไม่ติด การที่เครื่งยนต์เรือกลไฟเสีย เป็นการแสดงฤทธิ์ของหลวงปู่ศุข ซึ่งขณะนั้นท่านนั่งอยู่ตรงศาลาท่าน้ำ และกำลังให้เด็ก ตัดหัวปลีกล้วย มากองตรงหน้า เมื่อได้หัวปลีกองใหญ่หลวงปู่ศุขก็เดินไปนั่งข้างๆกองหัวปลี หยิบหัวปลีขึ้นมาทีละหัว เอามือลูบแล้ววางลง หัวปลีนั้นกลายเป็นกระต่ายสีขาวน่ารัก กระโดดเต้นไปมา หลวงปู่ศุขทำให้หัวปลีทั้งกอง กลายเป็นกระต่ายฝูงใหญ่ กระโดดไปมาเต็มหน้าศาลาด้วยฤทธิ์ทางใจของท่าน
เหตุการณ์อัศจรรย์นี้กรมหลวงชุมพรฯ ทรงเห็นโดยตลอด ด้วยความมหัศจรรย์พระทัยอย่างยิ่ง หลังจากหลวงปู่ศุขปล่อยให้ฝูงกระต่ายขาวโลดเต้นสักพักหนึ่ง ท่านก็เรียกกระต่ายขาวมาหาทีละตัวช้านมันนขึ้นมา เอามือลูบหลังเบาๆ พอวางกระต่ายลงก็กลายเป็นหัวปลีดังเดิม กรมหลวงชุมพรฯจึงเสด็จขึ้นจากเรือพร้อมทหารเรือมหาดเล็ก ดำเนินมานมัสการหลวงปู่ศุข พูดคุยสนทนากับท่านและขอฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่ศุขได้ถามกรมหลวงชุมพรฯว่า
อยากเห็นท่านทำให้คนกลายเป็นจระหรือไม่ กรมหลวงชุมพรฯ ตอบว่าอยากเห็น ท่านจึงให้คัดมหาดเล็ก ที่มีรูปร่างล่ำสันเเข็งเเรง มาคนหนึ่ง กรมหลวงชุมพรฯได้รับสั่งให้พลทหารจ๊อกเป็นผู้อาสา หลวงปู่ศุขบอกให้หาเชึอกมะนิลาขนาดเขื่องมาหนึ่งเส้นและมัดเอวพลทหารจ๊อกไว้ ปลายเชือกอีกด้าน ท่านถือไว้ จากนั้นก็พาไปยังสระน้ำของวัด ให้พลทหารจ๊อกนั่งคุกเข่าลงข้างๆ สระพร้อมกับหลับตาพนมมือแล้วหลวงปู่ศุขก็สงบจิตหลับตานิ่ง สุ่ภูมิแห่งสมาธิ อธิษฐานจิตให้เกิดฤทธิ์ทางใจอันแก่กล้า จากนั้นท่านก็เอื้อมมือข้างหนึ่งตบหลังพลทหารจ๊อก ก็ถลาหล่นตูมลงไปในสระ พลันนั้นความมหัศจรรย์ อันเหลือเชื่อก็เกิดขึ้นเบื้องหน้าสายตาของทุกคน นั้นคือเมื่อร่างของพลทหารจ๊อกจมหายไปในน้ำ และผุดโผล่ขึ้นมาใหม่กลายเป็นจระเข้ตัวใหญ่ดำผุดดำว่าย ฟาดหัวฟาดหางตูมตามน้ำแตกกระจาย ทำให้กรมหลวงชุมพรฯและพลทหารมหาดเล็กตึ่นเต้นเหลือจะกล่าว
หลวงปุ่ศุขให้ทุกคนได้ชมพอควรแล้ว ก็ยื่นปลายเชือกให้พวกทหารถือไว้สั่งว่าให้ดึงเชือกที่ผูกเอวจระเข้ตึงๆ อย่าให้จระเข้ดำลงไปกบดานได้ แล้วท่านก็เดินไปยังกุฏิเอาน้ำใส่ในบาตรทำพิธี อธิฐานจิตลงไปยังน้ำในบาตร เสร็จแล้วก็ประคองบาตน้ำพระพุทธมนต์มาที่ริมสระแล้วรดน้ำพระพุทธมนต์ไปที่ร่างของจระเข้ตั้งแต่หัวจรดหาง จระเข้ก็ดำไปครั้นโผล่ขึ้นมากลายเป็นพลทหารจ็อกมีเชือกผูกติดเอวอยู่เช่นเดิม ทันทีที่ร่างกายคืนสภาพกลับเป็นคนเช่นเดิม พลทหารทั้งหลายก็ถามว่า ขณะเป็นจระเข้มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร พลทหารจ๊อกได้เล่าให้ฟังว่า ตอนที่หลวงปู่ศุขท่านตบลงที่กลางหลัง มีความรู้สึกเหมือนกับถูกผลัก ให้ลอยละลิ่วลงไปในสระ ขณะนั้นมีอาการขนลุกขนพองสยองเกล้าบอกไม่ถูก เมื่อร่างกายสัมผัสน้ำ พลันเกิดความรู้สึกว่ามีพละกำลังเกิดขึ้นอย่างมากมาย ไม่รู้ว่ากำลังมาจากไหน ตนจึงดำผุดดำว่ายเล่นอย่างสนุกสนาน แต่ก็เกิดความสงสัยอยู่อย่างหนึ่งคือ
คนที่มุงดูอยู่รอบสระทำไมถึงได้แสดงอาการตื่นเต้นตะลึงตาค้างเป็นแถว ทั้งๆ ที่เหลือบมองดูตัวเองก็เห็แขนขาเป็นปกติทุกอย่าง ร่างกายก็เป็นคนเช่นเดิม ไม่เห็นเปลี่ยนเป็นจระเข้ตามคำพูดของหลวงปู่ศุข จิตใจรู้สึกเฉยๆ สบายดีไม่เห็นตื่นเต้นเหมือนพวกที่อยู่บนฝั่ง การที่หลวงปู่ศุขแสดงฤทธิ์เช่นนี้ ท่านอาศัยจิตภาวนาอันเป็นขึ้นสุดยอดแห่งสมถกรรมฐานระดับฌาน หรือที่เรียกว่า ฌานสมาบัติ จนมีความชำนาญอย่างยิ่งในเรื่องของวลีเครืองอาศัยเหล่่านี้เอง